ง๓.๑ ม.๔-๖/๘
- ใช้ฮาร์ดแวร์และวอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน
ง๓.๑ ม.๔-๖/๑๑
-ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
-การเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานสื่อประสม ควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง
-ใช้เทคโนโลยีสนเทศนำเสนองานในรุปแบบโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของงาน
วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์(software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ผู้ใช้มองไม่เห็นและสัมผัสไม่ได้ แต่สามารถรับรู้การทำงานได้ ซอฟแวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟแวร์ระบบ(system software) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟแวร์ประยุกต์(application software) เป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้
ซอฟแวร์ระบบ (system software)
เป็นโปรแกรมควบคุมและประสานการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดำเนินงานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือเรียกย่อๆว่า โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักหน่วยความจำรอง และหน่วยส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางการเชื่อมโยงและสนับสนุนคำสั่งในการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วย บางครั้งระบบปฏิบัติการนิยมเรียกว่า แพลตฟอร์ม (platform)
2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (utility programs) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่นการจัดเรียงข้อมูล การรวบรวมแฟ้มข้อมูล หรือย้ายข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้กับฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง
1. ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือเรียกย่อๆว่า โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักหน่วยความจำรอง และหน่วยส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางการเชื่อมโยงและสนับสนุนคำสั่งในการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วย บางครั้งระบบปฏิบัติการนิยมเรียกว่า แพลตฟอร์ม (platform)
2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (utility programs) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่นการจัดเรียงข้อมูล การรวบรวมแฟ้มข้อมูล หรือย้ายข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้กับฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application sofware)
เป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เช่น โปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมคำนวณ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application sofware for specific surpose) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญนั้นๆ
เป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เช่น โปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมคำนวณ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application sofware for specific surpose) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญนั้นๆ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน
1.แบบสำเร็จรูป เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานซื้อ ได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์โดยตรง ซึ่งมักจะเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันที
2. แบบว่าจ้างทำ เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีลักษณะเฉพาะงานของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ จึงต้องผลิตซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำการผลิตซอฟต์แวร์ให้ตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ
3. แบบทดลองใช้ เป็นวิธีการที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้ผลิตโปรแกรมที่ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพื่อให้ลุกค้าได้ทดลองใช้งานก่อน โดยมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งาน หากผู้ใช้ทดลองใช้แล้วตัดสินใจว่าดี ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปจากบริษัทได้ต่อไป
3. แบบใช้งานฟรี เป็นโปรแกรมที่แจกให้ใช้ฟรี เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินกับบริษัท
4. แบบโอเพนซอร์ซ เป็นวิธีการขององค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาซอร์ฟแวร์ทำการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้ฟรี รวมทั้งสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมต่างๆให้เหมาะสมกับงานของตนได้
2. แบบว่าจ้างทำ เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีลักษณะเฉพาะงานของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ จึงต้องผลิตซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำการผลิตซอฟต์แวร์ให้ตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ
3. แบบทดลองใช้ เป็นวิธีการที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้ผลิตโปรแกรมที่ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพื่อให้ลุกค้าได้ทดลองใช้งานก่อน โดยมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งาน หากผู้ใช้ทดลองใช้แล้วตัดสินใจว่าดี ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปจากบริษัทได้ต่อไป
3. แบบใช้งานฟรี เป็นโปรแกรมที่แจกให้ใช้ฟรี เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินกับบริษัท
4. แบบโอเพนซอร์ซ เป็นวิธีการขององค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาซอร์ฟแวร์ทำการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้ฟรี รวมทั้งสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมต่างๆให้เหมาะสมกับงานของตนได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)